TCDC Khon Kaen
Type
Commecial
Location
Khon Kaen, Thailand
Programme
Community, Library, Exhibition Hall, Office
Client
TCDC
Collaborators
Architect :
Archive Studio x Stu/D/O Architects
Interior Architect :
Archive Studio x Stu/D/O Architects
Interior Design Consult :
Storage Studio
Landscape Architect :
Graphic Designer :
Cookies Dynamo
Structural Engineer :
MEE Consultants
Mechanical Engineer :
MEE Consultants
Writer :
Karjvit Rirermvanich
Area
1,500 sq.m.
Status
Competition Entry
The architecture is inspired by the way Isan People sitting together in circle and having their meals. Called 'Lom Wong' in Thai, the function rooms were strategically placed around the site, while facing each other. There is no Main Entrance. Basically guests can access from any direction of the nearby urban blocks. We got the roof design from Isan Vernacular Roof, but we added a little twist making it a circular form and formed a central courtyard. Landscape wise, it is also inspired by Isan's natural geography plus agricultural space.
ABSTRACT
แนวความคิด “ล้อมวง” ของ TCDC ขอนแก่น ได้รับแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตของชาวไทย โดยเฉพาะชาวอีสาน ที่มีอุปนิสัยสนุกสนาน และมีความเอื้อเฟื้อจุนเจือ รักพวกพ้อง และ “หันหน้าเข้าหากัน” ซึ่งเห็นได้ชัดจากชีวิตประจำวันอันเรียบง่ายอย่างการล้อมวงนั่งพื้นกินข้าว การทำกิจกรรม งานบุญต่าง ๆ ร่วมกันในท้องถิ่น ไปจนถึงการสร้างอาคารแบบรวมกลุ่ม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการพบปะ สร้างสรรค์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำไปสู่การพัฒนาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นสืบเนื่องยาวนานมา
การ “ล้อมวง” ถูกแปลความอย่างชัดเจนผ่านการวางผังพื้นที่ใช้สอย 3 ส่วนหลักคือส่วนห้องสมุด ส่วนพื้นที่ห้องจัดกิจกรรม และพื้นที่ห้องนิทรรศการ แบบหันหน้าเข้าหากัน สร้างพื้นที่ศูนย์กลาง (Communal Space) ที่ถูกโอบล้อมเป็นสถานที่ ”พบปะสร้างสรรค์” หลักของ TCDC ขอนแก่นแห่งนี้ การวางผังแบบล้อมวงสร้างให้เกิดอาคารที่มีลักษณะเป็นองค์รวม ไม่มีทางสัญจรหรือพื้นที่ใช้สอยใดที่ถูกจัดวางให้สำคัญกว่าส่วนอื่น (Non-hierachy) ซึ่งก่อให้เกิดความอิสระของการเคลื่อนไหลต่อเนื่องของพื้นที่ทั้งใน TCDC เองและพื้นที่ทั้ง Creative Park กระตุ้นให้เกิดระบบนิเวศสร้างสรรค์(Creative Ecology) ผ่านอิสรภาพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอันเกิดจากการหันหน้าเข้าหากัน ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนา โดยมีอาคาร TCDC เป็นศูนย์กลางและหัวใจสำคัญ
MASTERPLAN
แนวความคิดของ Masterplan ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการในพระราชดำริ “โคก-หนอง-นา โมเดล” ซึ่งเป็นการผสมผสานภูมิปัญญาพื้นบ้านเข้ากับเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อจุดประสงค์ของการสร้างอาคารที่สอดคล้อง กับธรรมชาติ และเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและแปรปรวนมากขึ้นในปัจจุบัน โดยมีลักษณะสำคัญคือการขุดหนองขนาดเล็กเพื่อเป็นที่กักเก็บน้ำ และนำดินที่ขุดมาสร้างเป็นเนิน (Re-terrain) ก่อให้เกิดพื้นที่ใช้สอยที่อิสระในรูปแบบเนินที่มีความสูงแตกต่างกันไป ซึ่งเอื้อให้เกิดสร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นได้อย่างหลากหลาย ลักษณะพิเศษเฉพาะตัวซึ่งเกิดจากแนวความคิดอันเรียบง่ายนี้จะสามารถสร้างภูมิทัศน์ของพื้นที่ Creative Park ให้เป็น Landmark แห่งใหม่ และเป็นโครงการอาคารสวนสาธารณะต้นแบบสำหรับโครงการอื่น ๆ ในอนาคต
ARCHITECTURE
การล้อมวงถูกแปลความหมายเชิงกายภาพผ่านการเชื่อมหลังคาจั่วในหลาย ๆ สัดส่วนเข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่องในลักษณะของเรือนแฝด ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่ตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศและประโยชน์ใช้สอยได้เป็นอย่างดี โดยมีลักษณะสำคัญคือการเว้นที่ว่างระหว่างพื้นที่ใช้สอยหลักทั้งสามให้เกิดเป็นพื้นที่ลาน ในรูปแบบเดียวกับการปลูกเรือนไทย ซึ่งพื้นที่ลานนี้ทำหน้าที่เป็นทั้งพื้นที่ส่วนกลางซึ่งกระตุ้นให้เกิดการพบปะและสร้างสรรค์ และเป็นทางสัญจรผ่านเข้าสู่พื้นที่ศูนย์กลางซึ่งเป็นพื้นที่พบปะสร้างสรรค์หลักในเวลาเดียวกัน
ในส่วนของช่องเปิดอาคารได้รับการออกแบบโดยใช้สัดส่วนของผนังไม้ของเรือนภาคอีสาน นำมาการประยุกต์ให้เข้ากับขนาดและสัดส่วนของพื้นที่หลักทั้งสาม มิใช่เพียงการนำองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว มาขยายส่วนให้เข้ากับขนาดที่ใหญ่ขึ้นของพื้นที่ใช้สอยเท่านั้น
SUSTAINABLE DESIGN
อาคาร TCDC ขอนแก่นแห่งนี้นอกเหนือจากการล้อมวงซึ่งเป็นแนวความคิดหลักในการออกแบบแล้ว การวางผังและการออกแบบอาคารยังได้รับการศึกษาวิเคราะห์บนพื้นฐานของการออกแบบที่ยั่งยืน (Sustainable Design) เป็นปัจจัยหลักอีกด้วย โดยพื้นที่ห้องนิทรรศการที่มีผนังส่วนใหญ่เป็นผนังทึบและส่วนรับส่งของนั้นได้รับการจัดวางให้อยู่ทางทิศตะวันตกเพื่อป้องกันความร้อนที่จะเข้ามาภายในอาคารโดยตรง และจัดวางพื้นที่ห้องสมุดซึ่งต้องการแสงธรรมชาติอย่างเต็มที่ไว้ทางทิศเหนือ ทำให้สามารถเปิดช่องเปิดขนาดใหญ่ได้โดยไม่รับความร้อนจากแสงแดด และส่วนพื้นที่ห้องจัดกิจกรรม นั้นถูกจัดวางอยู่ทางทิศตะวันออก ตำแหน่งการวางอาคารส่วนพื้นที่ห้องนิทรรศการและส่วนพื้นที่ห้องกิจกรรม นั้นทำหน้าที่บดบังแสงแดดให้กับพื้นที่ลานพบปะสร้างสรรค์ บริเวณศูนย์กลางอาคาร ซึ่งเป็นหัวใจของพื้นที่ ให้ใช้งานได้อย่างอิสระตลอดทั้งวัน
ในขณะเดียวกัน ช่องเปิดและแผงกันแดดนอกจากได้รับการจัดวางให้อยู่ในทิศทางที่เหมาะสมแล้ว ยังได้รับการออกแบบให้ตอบสนองกับปริมาณของความร้อนที่ตกกระทบผิวกระจกในทิศนั้น ๆ ในรูปแบบของขนาดและองศาการวางที่แตกต่างกันไป ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความร้อนที่ตกกระทบผิวอาคารอย่างถูกต้องตามหลักการเชิงวิทยาศาสตร์แล้ว ยังสร้างเอกลักษณ์ของอาคาร TCDC แห่งนี้ ผ่านรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกด้วยในเวลาเดียวกัน
INTERIOR PLANNING
พื้นที่ใช้สอยภายในพื้นที่หลักทั้งสาม ได้รับการออกแบบให้มีความอิสระ (Flexibility) สอดคล้องกับความอิสระที่เกิดจากการวางผังแบบล้อมวง โดยให้ความสำคัญกับการตอบสนองการใช้งานที่หลากหลายและรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันไป เฉพาะพื้นที่นั้น ๆ และใช้ลักษณะเฉพาะของการสร้างเนินที่เคลื่อนไหลต่อเนื่อง เป็นคุณลักษณะหลักของการออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายใน ซึ่งสร้างพื้นที่ใช้สอยที่มีลักษณะอิสระ และต่อเนื่องกันทั้งในพื้นที่ภายในแต่ละส่วน และต่อเนื่องกับเนินภายนอกด้วยในเวลาเดียวกัน
ส่วนพื้นที่ห้องสมุดได้รับการออกแบบให้พื้นที่ทั้งหมดต่อเนื่องกันทั้งในเชิงการรับรู้ทางสายตาและพื้นที่ใช้สอยผ่านการวางผังแบบเปิดโล่ง รับแสงธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ และการที่เนินจากพื้นที่ภายนอกไหลต่อเนื่องเข้ามาเป็นพื้นที่สำหรับนั่งภายใน ก่อให้เกิดพื้นที่กิจกรรมและพื้นที่นั่งอ่านหนังสือที่หลากหลายและอิสระ นอกจากนี้ ในส่วนอ่านหนังสือบนชั้นลอยยังได้รับการออกแบบให้สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยและความเป็นส่วนตัวที่หลากหลาย โดยใช้รูปแบบของผนังภายในที่สามารถเลื่อนปรับเปลี่ยนได้ สร้างให้เกิดพื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่ประชุมกลุ่มย่อย หรือกลุ่มใหญ่ได้ตามความต้องการใช้สอยพื้นที่
ส่วนพื้นที่ห้องจัดกิจกรรมได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ หลากหลาย ทั้ง Workshop, สัมมนา, Lecture, และกิจกรรมอื่นๆ โดยพื้นที่ภายในที่รองรับคนได้ 200 คนนั้นสามารถแบ่งเป็นห้องย่อยขนาดใกล้เคียงกันได้ 2 ห้อง นอกจากนี้ผนังอาคารยังได้รับการออกแบบให้สามารถเปิดเชื่อมพื้นที่ภายในออกไปยังลานพบปะสร้างสรรค์ศูนย์กลางที่อยู่ภายนอกได้อย่างเต็มที่ สร้างความต่อเนื่องและเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับพื้นที่กิจกรรมทั้งหมดได้ ในเวลาเดียวกัน
ส่วนพื้นที่ห้องนิทรรศการได้รับการออกแบบให้สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ได้หลากหลายรูปแบบ และสามารถเชื่อมต่อออกมายังลานพบปะสร้างสรรค์ตรงกลางได้อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับพื้นที่ห้องจัดกิจกรรม โดยส่วนของพื้นที่รับส่งของ และห้องสำหรับงานระบบต่าง ๆ ได้รับการจัดวางไว้บริเวณทิศตะวันตกซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับถนนกัลปพฤกษ์ได้โดยสะดวก และทำหน้าที่ป้องกันความร้อนและแสงแดดโดยตรงที่จะเข้าสู่อาคารได้อีกด้วย
PHYSICAL MODEL